สรุปจุดสังเกต ป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพหลอกลงทุน (Investment Scams)
ปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง StashAway บทความนี้เรามีวิธีสังเกตและป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ รวมทั้งการตรวจสอบช่องทางติดต่อกับ StashAway ที่ถูกต้อง
⚠️ มิจฉาชีพอาจสร้างเว็บไซต์หรือช่องทางการติดต่อปลอมขึ้นเพื่อติดต่อกับคุณ เช่น SMS, Email, LINE, Facebook, Instagram, Telegram และอื่นๆ โดยสวมรอยเป็นองค์กรหรือสถาบันการเงินชั้นนำ และอาจชักชวนให้คุณคลิกฟิชชิ่งลิงก์ (Phishing link) เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนบุคคลและ Password หรืออาจโน้มน้าวให้คุณลงทุนผ่านลิงก์ปลอมนั้นๆ ดังนั้น คุณควรตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนการเปิดเผยข้อมูลของตนเองเสมอ
ช่องทาง Official ของ StashAway
StashAway จะติดต่อกับคุณผ่านช่องทาง Official ของเราเท่านั้น คือ
- โทรศัพท์: 02-821-6888
- อีเมล: support@stashaway.co.th
- LINE: @StashAway
- Facebook: @StashAwayTH
โดยคุณสามารถตรวจสอบช่องทางการติดต่อและ Social Media ของเราได้ตลอดเวลาบนเว็บไซต์ ที่สำคัญเราจะไม่ถามข้อมูลเกี่ยวกับการล็อกอิน และ Password ของคุณ อย่างไรก็ตาม หากคุณพบการติดต่อที่น่าสงสัยสามารถตรวจสอบกับเราได้เสมอ
LINE Official ของ StashAway
คุณสามารถตรวจสอบว่า LINE นั้นเป็นของ StashAway ได้ด้วยการมองหาสัญลักษณ์ ‘โล่สีน้ำเงิน’ ซึ่งจะอยู่ด้านข้างชื่อ StashAway นอกจากนี้ในหน้า Profile บริเวณด้านล่างจะแสดง LINE ID: @StashAway โดยระบุข้อมูลที่ถูกต้องของทางบริษัทเสมอ
เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Social Media ของ StashAway
คุณสามารถติดตามข่าวสาร ศึกษาข้อมูลบริษัทและผลิตภัณฑ์การลงทุนผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของเรา โดยทาง StashAway จะไม่มีการทำธุรกรรมบนเว็บไซต์ และลูกค้าสามารถฝาก-ถอนเงินลงทุนผ่านแอปพลิเคชันเท่านั้น ที่สำคัญเราจะไม่มีการแจ้งให้โอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนบุคคล
- เว็บไซต์: https://www.stashaway.co.th
- แอปพลิเคชัน: StashAway
นอกจากนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ของเราได้ทาง Facebook, Instagram และ Youtube โดยคุณสามารถคลิกที่ลิงก์ด้านล่างนี้:
- Facebook: StashAway (TH)
- Instagram: @stashaway_th
- Youtube: StashAway Thailand
นอกจากนี้คุณสามารถตรวจสอบทุกช่องทางบัญชี Social Media ของเรา ได้ที่แถบด้านล่างบนเว็บไซต์
ข้อมูลการแอบอ้างเป็น StashAway ที่พบล่าสุด
ในประเทศไทย พบว่ามีการสวมรอยเป็น StashAway และติดต่อชักชวนลงทุนผ่านช่องทาง LINE
- มิจฉาชีพสร้าง LINE Account ปลอมด้วย LINE ID: @885vktpt และเว็บไซต์ปลอมภายใต้ URL: https://www.stashawaysg.com โดยแอบอ้างใช้ชื่อและแบรนด์ของ StashAway
- ชักชวนให้ลงทุนผ่านลิงก์เว็บไซต์ปลอม โดยแสดงผลตอบแทนสูงเกินจริง
- ใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ
ตัวอย่างหน้า Profile ของบัญชี LINE ปลอมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ตัวอย่างเว็บไซต์ปลอมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
นอกจากนี้มิจฉาชีพได้พยายามสวมรอยเป็น Nino Ulsamer, Co-Founder และ Group CTO ของ StashAway ผ่านช่องทาง WhatsApp
- มิจฉาชีพส่งคำชักชวนถึงบุคคลจำนวนมากผ่านกลุ่มแชทของผู้ใช้งาน Viber และ WhatsApp โดยแอบอ้างชื่อคุณ Nino และใช้ลิงก์เว็บไซต์ของ StashAway
- มิจฉาชีพชักชวนให้ลงทุนในหุ้นโดยการันตีว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง
- มีรายงานมิจฉาชีพในลักษณะที่คล้ายคลึงกันเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2022
ตัวอย่างหน้าจอและข้อความจากมิจฉาชีพ
Investment Scam มิจฉาชีพหลอกลงทุน
ปัจจุบันมิจฉาชีพมีหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ ‘มิจฉาชีพหลอกลงทุน’ หรือ Scammer ที่ใช้อุบายหลอกให้ลงทุนโดยเฉพาะ มิจฉาชีพกลุ่มนี้มักจะชักชวนโดยการันตีผลตอบแทนที่สูงเกินจริงและมักสวมรอยเป็นสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงเพื่อให้คุณไว้วางใจ
วิธีสังเกต ‘มิจฉาชีพหลอกลงทุน’:
ได้รับการติดต่อจากบุคคลที่ไม่รู้จัก
คุณควรระมัดระวังเมื่อได้รับสายจากเบอร์ที่ไม่ระบุหมายเลข การได้รับการติดต่อจากเบอร์ที่ไม่รู้จัก หรือการได้รับเชิญเข้ากลุ่มแชทโดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ส่งคำเชิญ
Scam มักการันตีผลตอบแทนสูงเกินจริง แต่มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงเลย
มิจฉาชีพมักให้คำสัญญาหรือการันตีว่าจะให้ผลตอบแทนสูงเพื่อล่อหลอกให้ลงทุน และยิ่งผลตอบแทนนั้นสูงเกินกว่าความเป็นจริง ยิ่งต้องระวังว่าเป็นการหลอกลวง
Scam มักใช้เทคนิค ‘กดดัน’
มิจฉาชีพมักเร่งรัดให้คุณตัดสินใจ โดยอาจจะอ้างว่ามีข้อเสนอพิเศษให้คุณโดยเฉพาะ เช่น ของขวัญหรือส่วนลดต่างๆ และพยายามย้ำให้คุณต้อง ‘ตัดสินใจตอนนี้เท่านั้น’ เพื่อเร่งให้คุณโอนเงินโดยเร็วที่สุด
Scam มักแอบอ้างหรือสร้างประวัติและผลการดำเนินงานปลอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
มิจฉาชีพมักพยายามสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการปลอมแปลงข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลผลการดำเนินงาน, ประวัติและประสบการณ์ของบุคคลหรือองค์กร, แอบอ้างว่าได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรืออาจสร้าง Review ปลอม
Scam จะสื่อสารโดยใช้ภาษาที่ ‘ไม่เป็นทางการ’
สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล จำเป็นต้องรักษามาตรฐานการทำงานและได้รับการตรวจสอบคุณภาพอยู่เสมอ ดังนั้นหากพบลักษณะการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ เช่น การสะกดคำผิด, Email จาก Public Domain (เช่น Gmail), การแนบไฟล์หรือลิงก์ที่น่าสงสัย ให้สันนิษฐานว่าข้อความหรือการชักชวนให้ลงทุนนั้นอาจมาจากมิจฉาชีพ
ถ้าสงสัยว่ากำลังเจอ Scam ควรทำอย่างไร
หากคุณกังวลหรือไม่แน่ใจว่ากำลังเจอกับมิจฉาชีพอยู่หรือไม่ เราแนะนำให้คุณตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดของสินค้าหรือข้อเสนอที่คุณได้รับอย่างรอบคอบก่อนจะตกลงหรือทำธุรกรรมนั้นๆ เสมอ
- ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือคลิกลิงก์ที่ได้รับมา จนกว่าคุณจะตรวจสอบและมั่นใจได้ว่าเป็นการติดต่อจากบุคคลหรือองค์กรจริงที่ต้องการทำธุกรรมด้วย
- ถามทุกข้อสงสัยที่คุณมี และควรระมัดระวังหากผู้ที่ติดต่อมาไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือพยายามหลีกเลี่ยงคำถามของคุณ
- ตรวจสอบว่าข้อมูลที่บริษัทระบุมานั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับข้อเท็จจริงหรือไม่ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ หมายเลขทะเบียนธุรกิจ ทีมผู้บริหาร และอื่นๆ
- หากสงสัยว่ากำลังเจอกับมิจฉาชีพ ควรติดต่อบริษัทที่ได้รับการแอบอ้างโดยตรงเพื่อตรวจสอบ
- หากได้รับข้อความที่น่าสงสัยทั้งทางโทรศัพท์, SMS, LINE หรือ Whatapps คุณควรบล็อกและกด Report (ร้องเรียน) ทันที
- ควรตรวจสอบว่าบริษัทนั้นๆ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือไม่ โดยทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะแสดงรายชื่อสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลฯ ที่นี่