Weekly Buzz: ‘One Big Beautiful Bill’ มูลค่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ของ Trump 💰

04 July 2025

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

กฎหมาย ‘One Big Beautiful Bill’ ของประธานาธิบดี Trump ผ่านการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายเวลาการลดภาษีเงินได้และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลอย่างมหาศาล แต่ขณะนี้ตลาดยังไม่แน่ใจว่ามาตรการนี้เป็นกลยุทธ์ที่ ‘เฉียบแหลม’ หรือ ‘หุนหันพลันแล่น’ กันแน่?

ผลกระทบของกฎหมายฉบับนี้?

บรรดาบริษัทสหรัฐกำลังจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีครั้งใหญ่ โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้การลดภาษีเงินได้ที่เดิมจะหมดอายุในปี 2026 กลายเป็นมาตรการถาวร พร้อมเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ ให้กับภาคธุรกิจ เช่น การนำการซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ มาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที รวมถึงงบประมาณกลาโหมอีก 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย Tax Foundation ประเมินว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ GDP สหรัฐขยายตัว 1.1% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาคธุรกิจและการบริโภคของประชาชน

นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุน แต่ก็มี ‘ต้นทุน’ ตามมาเช่นกัน โดยสำนักงานงบประมาณรัฐสภา (CBO) ประเมินว่า ร่างกฎหมายนี้จะสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอีก 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะยิ่งทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP และการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) ซึ่งสูงอยู่แล้ว เพิ่มสูงขึ้นไปอีก

ขณะที่ ตลาดตราสารหนี้เริ่มส่งสัญญาณเตือนออกมาแล้ว โดย Yield ของพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น เพราะนักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลที่มีหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์ฯก็อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มตั้งคำถามถึงความมีวินัยทางการคลังของสหรัฐ

Key Takeaway

คำถามสำคัญอาจไม่ใช่ “สหรัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่?” เพราะการใช้จ่ายของรัฐบาลมักกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เสมอ แต่อาจเป็น “เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้จะสามารถแบกรับหนี้ในระดับนี้ได้อีกนานแค่ไหน โดยไม่จุดชนวนเงินเฟ้อรอบใหม่หรือเผชิญแรงตีกลับจากตลาด หากนักลงทุนเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการคลัง?”

ปัจจุบัน สัญญาณจากตลาดตราสารหนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอน ซึ่งในสภาวะเช่นนี้ กลยุทธ์กระจายการลงทุนยิ่งมีความสำคัญ โดยแทนที่จะพยายามคาดเดาว่านโยบายครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ นักลงทุนระยะยาวควรโฟกัสไปที่การลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจ ภูมิภาคและสกุลเงิน

💡 Investors’ Corner: ทำไมต้องพยายามเอาชนะตลาด? ในเมื่อเติบโตไปด้วยกันได้

ย้อนกลับไปในปี 1975 John Bogle ได้เปิดตัวกองทุนดัชนี (Index Fund) แห่งแรกของโลก ทำให้นักลงทุนทั่วไปสามารถลงทุนแบบ Passive ได้ และยังเสียค่าธรรมเนียมต่ำมาก แต่นักลงทุน Wall Street ในยุคนั้นกลับหัวเราะเยาะและเรียกมันว่า “Bogle’s folly” หรือ “ความเขลาของ Bogle” แต่วันนี้ กองทุนดัชนีทั่วโลกมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมกันเกิน 7 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ไปแล้ว กลายเป็นว่าคนที่หัวเราะทีหลังดังกว่าก็คือ Bogle นั่นเอง

ทุกๆ ดอลลาร์ที่เสียไปกับค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น ก็คือเงินที่ไม่สามารถเติบโตเป็นดอกเบี้ยทบต้นให้กับนักลงทุนได้ ลองคิดดูว่าหากเราลงทุน 100,000 บาท และเติบโตปีละ 10% ผ่านไป 20 ปี เงินลงทุนจะกลายเป็น 732,800 บาท แต่ถ้าโดนเก็บค่าธรรมเนียม 2% ต่อปี ผลตอบแทนจะลดลงเหลือเพียง 492,680 บาท หายไปถึง 39%

แนวคิดของ Bogle นั้นเรียบง่าย คือ นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเอาชนะตลาด แต่ควรเติบโตไปกับตลาดมากกว่า เพราะการพยายามชนะตลาดนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในระยะยาว เนื่องจากตลาดมักจะนำหน้าไปก่อนหนึ่งก้าวเสมอ กลยุทธ์ของเขาจึงเน้นความเรียบง่ายแค่ 3 ประการ นั่นก็คือ ลงทุนแบบ Passive รักษาค่าธรรมเนียมให้ต่ำที่สุด และปล่อยให้ตลาดทำหน้าที่ของมัน

เมื่อคุณลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดี หมายความว่า คุณไม่ได้พยายามทำนายว่าหุ้นหรือกลุ่มธุรกิจใดจะเป็นผู้ชนะ แต่คุณกำลังเติบโตไปกับเศรษฐกิจโลกโดยรวม อย่างที่ Bogle เคยพูดไว้ว่า “อย่ามัวแต่หาเข็มในกองฟาง ซื้อทั้งกองฟางไปเลยจะง่ายกว่า!”

(หากคุณกำลังมองหาพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีทั่วโลกและค่าธรรมเนียมต่ำ พอร์ต General Investing ของเรา อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม 😎)

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: การขาดดุลงบประมาณ

ให้ลองนึกถึงงบประมาณของรัฐบาลเหมือนกับการจัดการเงินในครอบครัวของคุณ การขาดดุลงบประมาณ หมายความว่า รัฐบาลใช้จ่ายเงินมากกว่ารายรับที่เข้ามา ทำให้พวกเขาต้องกู้เงินผ่านการออกพันธบัตร เพื่อนำมาใช้จ่ายชดเชยส่วนที่ขาดดุลนั้น เช่นเดียวกับคุณที่อาจต้องรูดบัตรเครดิตหรือกู้เงินเมื่อรายจ่ายมากกว่ารายรับ


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ