Weekly Buzz: เมื่อยุโรปต้องเผชิญสถานการณ์ยากลำบาก

22 September 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

สัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อสูงในยุโรปที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากสำหรับ ECB 

สถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญเสียงแตกเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งคาดว่า ECB จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็หวังว่า ECB จะแค่คงอัตราดอกเบี้ยซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ เพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่า ECB ตกอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

เพราะหาก ECB ไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อ ก็อาจต้องเผชิญเสียงวิจารณ์ว่ายอมแพ้สงครามเงินเฟ้อเร็วเกินไป ซึ่งปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อในยุโรปยังสูงกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ 2% กว่า 2 เท่า แต่ถ้า ECB ขึ้นดอกเบี้ยต่อ ก็ต้องเผชิญความเสี่ยงว่าอาจทำให้เศรษฐกิจตกต่ำมากขึ้นอีกเช่นกัน

ทั้งนี้ มุมมองเศรษฐกิจในแง่ลบได้สะท้อนออกมาจากการที่ ECB ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ จากเดิม 0.9% มาอยู่ที่ 0.7% ยิ่งไปกว่านั้น ECB ยังปรับเพิ่มการคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ว่าจะอยู่ที่ 5.6% จากเดิมที่ 5.4% แต่จะเริ่มลดลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของ ECB ในปี 2025

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?

ปัจจุบัน นักวิเคราะห์มองว่ามีโอกาสน้อยกว่า 20% ที่ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ซึ่งสะท้อนให้เห็นความกังวลต่อมุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรป โดยนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากคาดหวังว่า ธนาคารกลางหลักต่างๆ ของโลกกำลังใกล้จะหยุดวงจรการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว

จากสถานการณ์ดังกล่าว นักลงทุนอาจสงสัยว่าจะเกิดอะไรต่อไปในระยะข้างหน้า และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วและรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมมากแค่ไหน ซึ่งเวลาจะเป็นผู้ตอบคำถามนี้ได้ ดังนั้น ในระหว่างนี้ การลงทุนแบบตั้งรับน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เช่น เลือกลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ หรือกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนต้องการออกแบบกลยุทธ์การลงทุนด้วยตัวเอง Flexible Portfolio อาจเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะสามารถเลือกประเภทสินทรัพย์และกำหนดสัดส่วนการลงทุนได้ตามที่ต้องการ 

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: เศรษฐกิจจีนเริ่มกลับมายืนได้

สัปดาห์ที่แล้ว ข้อมูลของทางการจีนแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนอาจกำลังเริ่มฟื้นตัว แม้ก่อนหน้านี้จะมีข่าวแง่ลบในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ในเดือน ส.ค. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและฤดูท่องเที่ยวในช่วงหน้าร้อน ต่างช่วยพลิกสถานการณ์ของจีนให้ดูดีขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึง

ยอดค้าปลีก (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) ซึ่งบ่งบอกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้ดี พุ่งขึ้น 4.6% YoY ซึ่งไม่เพียงดีกว่าเดือน ก.ค. แต่ยังดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ด้วย

ภาคการผลิตกลับมาคึกคักเช่นกัน จากแรงขับเคลื่อนหลักของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนที่เติบโตขึ้น 4.5% YoY และอัตราว่างงานที่ลดลง รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่ปรับลดลงแล้ว ก็อาจเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนกำลังเริ่มฟื้นตัว

แม้จะมีข่าวแง่ลบมากมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน แต่หากเจาะลึกลงไปก็จะทำให้เห็นอนาคตที่สดใสมากขึ้นในระยะยาว (ติดตามได้ใน CIO Insights ของเราเดือนนี้) ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลจีนกำลังมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการลงทุนในพลังงานทดแทนและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังสามารถผลิตชิปล้ำสมัยขนาด 7 นาโนเมตรได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความพยายามของสหรัฐในการสกัดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนอาจเดินมาถึงทางตัน

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: ยอดค้าปลีก

ในทางเศรษฐศาสตร์ ยอดค้าปลีกจะสะท้อนการซื้อสินค้าทุกชนิดของผู้บริโภค ทั้งจากร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์ หรืออาจเปรียบได้กับใบเสร็จของทั้งประเทศนั่นเอง 

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างให้ความสนใจกับตัวเลขเหล่านี้ เพราะเป็นตัวสะท้อนความเชื่อมั่นของผู้คนในการจับจ่ายใช้สอย หากผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น แสดงว่าพวกเขารู้สึกมั่นใจในฐานะการเงินของตัวเอง แต่เมื่อผู้บริโภคเริ่มรัดเข็มขัดก็อาจเป็นสัญญาณว่าพวกเขาเริ่มกังวลในหนทางข้างหน้า

✨ ใหม่! CIO Insights ในรูปแบบ Audiobook

🎧 Insights ดีๆ ที่คุณฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา จะขับรถหรือทำอะไรอยู่ก็ฟังได้ กับบทวิเคราะห์ล่าสุดเรื่อง ‘ทิศทางของค่าเงิน’ ที่นักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศควรให้ความสำคัญ!

USD จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด มีปัจจัยอะไรบ้างที่ขับเคลื่อนค่าเงินสกุลต่างๆ และ StashAway บริหารจัดการเรื่องนี้อย่างไร 

ฟัง Audiobook ได้ที่นี่

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ