Weekly Buzz: ✂️ ไม่ต้องกังวลเรื่องลดดอกเบี้ย

10 May 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา Fed ประกาศคงดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกันเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อสูงที่ยังยืดเยื้อ แม้นักลงทุนบางส่วนยังหวังว่า Fed จะลดดอกเบี้ยลงเร็วๆ นี้ ซึ่งจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี อาจไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายมากนัก และนี่คือ 3 เหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

  1. Fed ไม่น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้อย่างไร แต่ปัจจุบัน คณะกรรมการ Fed ส่วนมาก มองว่า อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเช่นนี้เพียงพอแล้ว ทำให้คำถามที่แท้จริงในตอนนี้ไม่ใช่ ‘Fed จะลดดอกเบี้ยหรือไม่?’ แต่เป็น ‘เมื่อไหร่’ และ ‘ลดลงเร็วแค่ไหน’
  2. เงินเฟ้อลดความร้อนแรงลงมาแล้ว เมื่อ 2 ปีก่อน เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมากจนส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วและรุนแรง นอกจากนี้ ยังเกิดความไม่สมดุลในตลาดแรงงานสหรัฐ ทำให้ค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้น แต่ปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของค่าแรงได้กลับมาอยู่ระดับเดียวกันกับช่วงก่อน COVID-19 แล้ว
  3. เศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง ซึ่ง Fed ตระหนักดีว่าปัจจัยนี้ทำให้พวกเขาชะลอการลดดอกเบี้ยออกไปได้ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ IMF ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวที่ 2.7% ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าคาดการณ์ของประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ค่อนข้างมาก เช่น ยุโรปที่ 0.8% และญี่ปุ่นที่ 0.9%

Key Takeaways คือ?

นักลงทุนอาจไม่ต้องกังวลมากนักหาก Fed ยังไม่ตัดสินใจลดดอกเบี้ย เพราะแม้ปัญหาเงินเฟ้อยังคงยืดเยื้อ แต่ Fed ตัดสินใจคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง เพราะเศรษฐกิจยังเติบโตได้ดีอยู่ โดยเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งจะช่วยขับเคลื่อนกำไรของภาคเอกชน และจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นเช่นเดียวกัน

ที่จริงแล้ว ตลาดหุ้นน่าจะยังทำผลงานได้ดีในสถานการณ์ที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับปานกลาง โดยสถิติในอดีต บ่งชี้ว่า ดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 8.5% ในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 3-5% ต่อปี (เหมือนในปัจจุบัน) นอกจากนี้ เงินเฟ้อยังเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งปัจจุบัน เศรษฐกิจได้กลับมาเติบโตอีกครั้ง กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ของเราจึงทำการ Re-optimisation พอร์ตของคุณให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจแบบใหม่นี้

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ตลาดหุ้นเอเชียกำลังคึกคัก

เมื่อเร็วๆ นี้ ตลาดหุ้นในทวีปเอเชียได้ปรับตัวสูงขึ้น เพราะได้รับแรงขับเคลื่อนจากตัวเลข GDP ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และความคาดหวังว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในปีนี้

ใน Q1/2024 เศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาดที่ 5.1% ทำให้ตลาดหุ้น Jakarta และค่าเงินรูปียะฮ์ ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับไต้หวันที่ GDP เติบโต 6.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก Demand ของเทคโนโลยีที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ ตลาดหุ้นมาเลเซียมีเงินลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามากที่สุดในรอบ 2 ปี ส่งผลให้ดัชนี Bursa ทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 52 สัปดาห์

การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นเอเชียสะท้อนให้เห็น Sentiment ของนักลงทุนทั่วโลกและคาดการณ์นโยบายการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อสหรัฐเริ่มลดดอกเบี้ยลง เราอาจเห็น Capital Flow (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) เคลื่อนไหวมากขึ้น เมื่อนักลงทุนเริ่มถือเงินสดน้อยลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตลาดเกิดใหม่ในทวีปเอเชีย

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓Simply Finance: Capital Flow

Capital Flow คือ การเคลื่อนไหวของเงินทุนระหว่างประเทศ เปรียบได้กับกระแสน้ำในโลกการเงิน โดยเงินทุนจะไหลเข้าและไหลออกประเทศต่างๆ เนื่องจากนักลงทุนจะพยายามโยกเงินไปไว้ในที่ที่มีผลตอบแทนน่าดึงดูดมากที่สุด

เมื่อเศรษฐกิจประเทศใดกำลังขยายตัว กระแสเงินทุนต่างประเทศมักจะไหลเข้าประเทศนั้นๆ ในทางกลับกัน หากเศรษฐกิจประเทศใดมีความไม่แน่นอนหรือไม่มั่นคง เงินทุนก็มักจะไหลออกไปยังที่ที่มีความปลอดภัยมากกว่า ซึ่งการเคลื่อนไหวของ Capital Flow จะทำให้เราเห็น Sentiment ของนักลงทุนทั่วโลก และยังเป็นเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจโดยรวมได้ด้วย


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ