Weekly Buzz: หรือสหรัฐจะมีโอกาส Soft Landing?

29 September 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุด ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ว่าการแก้ปัญหาเงินเฟ้อของ Fed อาจลงเอยแบบ ‘Soft Landing’ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เศรษฐกิจจะต้องชะลอตัวมากพอ แต่ไม่มากจนทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ Recession

ความเป็นไปได้ของ ‘Soft Landing’

ล่าสุด Fed ออกคาดการณ์เศรษฐกิจฉบับใหม่ พร้อมตัดสินใจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดย Fed ประเมินว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะบรรเทาลง และเศรษฐกิจจะเติบโตดีขึ้น เมื่อเทียบกับคาดการณ์ฉบับก่อนหน้าในเดือน มิ.ย.

ทั้งนี้ Fed ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ของปีนี้ลงเหลือ 3.7% จาก 3.9% แม้จะประเมินว่าเงินเฟ้อจะยังไม่ลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% จนกระทั่งปี 2026

ขณะที่ การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้คาดว่าจะขึ้นไปถึง 2.1% จากเดิม 1% โดยค่าเฉลี่ยคาดการณ์ GDP ที่ประกาศมาตลอดทั้งปีนี้ยังมากกว่าคาดการณ์เมื่อต้นปีถึง 5 เท่า และยังคาดว่าในปี 2024 การเติบโตจะขึ้นไปอยู่ที่ 1.5%

นอกจากนี้ แถลงการณ์ของ Fed ยังเปลี่ยนไปในทิศทางบวกมากขึ้น สอดคล้องกับท่าทีของเจ้าหน้าที่ Fed ระดับสูงหลายคนที่มองว่าการเกิด Soft Landing มีความเป็นไปได้มากขึ้น

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?

ในระยะข้างหน้า การต่อสู้ปัญหาเงินเฟ้อยังต้องดำเนินต่อไป ทำให้สหรัฐน่าจะคงนโยบายการเงิน (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) ที่เข้มงวดไปจนถึงปี 2026 โดยบทสรุปคาดการณ์ครั้งล่าสุดของ Fed แสดงให้เห็นว่าบรรดาผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ยังคาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ที่ 5.6%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐยังพิสูจน์ให้เห็นความทนทานอย่างต่อเนื่อง จึงมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเกิดสถานการณ์ Soft Landing แทนที่จะเป็น Recession ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสินทรัพย์เกือบทุกประเภท เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม

ทั้งนี้ การลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว จึงไม่ควรคาดเดาผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่ควรเน้นมองภาพในระยะยาว ซึ่งการลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี (เช่น General Investing ของเรา 😎) จะช่วยให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในอนาคต

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

💡 Investors’ Corner: รับมือกับอาการ ‘Analysis Paralysis’

นักลงทุนบางคนอาจคิดว่าต้องรู้ข้อมูลทุกๆ อย่างก่อนตัดสินใจลงทุนเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด แต่ความคิดแบบนี้อาจทำให้เราไม่ได้เริ่มลงทุนสักที หรือที่เรียกว่าอาการ ‘Analysis Paralysis’ ซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการลงทุนคือ เราไม่สามารถรู้ข้อมูลทุกอย่างได้

การลงทุนคือการรับความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดด้วยข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่เรามี พร้อมทั้งยอมรับว่าบางอย่างก็อยู่เหนือการควบคุมของเรา การรอข้อมูลทุกอย่างก่อนตัดสินใจลงทุนอาจทำให้เราพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

นอกจากนี้ Analysis Paralysis ยังทำให้นักลงทุนเสียเวลาที่อยู่ในตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งระยะยาว เพราะยิ่ง Stay Invested ได้นานเท่าไหร่ พอร์ตก็จะมีเวลาเติบโตไปพร้อมกับตลาดมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงโอกาสที่จะได้รับพลังจากผลตอบแทนทบต้นด้วย

หากคุณมีอาการ Analysis Paralysis สิ่งสำคัญคือ คุณต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองก่อน จากนั้นคุณจะสามารถคัดเลือกการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเองได้ แต่ในบางครั้งต้องยอมรับด้วยว่าการตัดสินใจผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ตราบใดที่คุณยังรอบคอบและเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการลงทุนนั่นเอง

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: นโยบายการเงิน

สมมติว่าคุณกำลังขับรถอยู่บนทางด่วน และต้องการควบคุมความเร็วให้คงที่ ไม่ช้าและไม่เร็วเกินไป นโยบายการเงินก็เปรียบได้กับคันเร่งและเบรกของธนาคารกลางในการจัดการการเติบโตทางเศรษฐกิจ

หากเศรษฐกิจเติบโตช้าเกินไป ธนาคารกลางอาจเหยียบคันเร่งด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยลดต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่หากเศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปจนทำให้เงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางก็อาจแตะเบรกด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ

✨ ใหม่! CIO Insights ในรูปแบบ Audiobook

🎧 Insights ดีๆ ที่คุณฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา จะขับรถหรือทำอะไรอยู่ก็ฟังได้ กับบทวิเคราะห์ล่าสุดเรื่อง ‘เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญ ‘วิกฤติ’ จริงหรือ?’

เศรษฐกิจจีนกำลังล่มสลายหรือยังมี ‘โอกาส’ อะไรซ่อนอยู่ในประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกแห่งนี้ 

CTA: ฟัง Audiobook ได้ที่นี่

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ