เมื่อ Fed อาจพักการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ การตั้งรับอาจเป็นการรับมือที่ดีที่สุด

23 May 2023
Stephanie Leung
Group CIO

เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณว่าจะหยุดวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น เรามี 3 เหตุผลสำคัญว่าทำไมการ ‘ตั้งรับ’ ในช่วงนี้ถึงเหมาะสม

ในการประชุมเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา Fed ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ Fed ได้ส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยฯ ปัจจุบันอาจเข้าใกล้หรืออยู่ในจุดที่เป็น Terminal Rate แล้ว

แต่สถานการณ์นี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในทันที โดยเรายังเชื่อว่าบริหารพอร์ตการลงทุนให้ Defensive ยังเป็นสิ่งที่เหมาะสมด้วย 3 เหตุผล ดังนี้:

  • การขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ที่เร็วและแรงกำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม ผลกระทบที่ธนาคารกลางหลักต่างปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ อย่างรวดเร็วนี้ เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและตลาดการเงินโดยเฉพาะภาคส่วนที่ยังอ่อนแอ โดยเราได้เห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นในกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาค (Regional Bank) ในสหรัฐ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าสถานการณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
  • ERAA™ ระบุว่าเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะ Stagflation การจับสัญญาณล่าสุดโดย ERAA™ ยังคงยืนยันว่าปัจจุบันเรายังอยู่ในภาวะ Stagflation ซึ่งตามข้อมูลจากที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ถือเป็นภาวะที่ยากต่อการลงทุน
  • นักลงทุนอาจมองตลาดหุ้นเป็นบวกกว่าสถานการณ์จริง ปัจจุบันตลาดมีมุมมองที่ต่างกัน โดยฝั่งตลาดตราสารหนี้มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะข้างหน้า ในขณะที่ฝั่งตลาดหุ้นยังมองเห็นแนวโน้มที่ดี ซึ่งหมายความว่าตลาดหุ้นอาจได้รับผลกระทบมากกว่าหากเศรษฐกิจชะลอตัวลงตามข้อมูลบ่งชี้ในปัจจุบัน

ในระยะข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น และปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อตลาดอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่ 

เริ่มจากทำความเข้าใจสถานการณ์ของ Fed ล่าสุด

ในเดือน พ.ค. อัตราดอกเบี้ยฯ ของ Fed อยู่ที่ระดับ 5.00-5.25% ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ รวมมากถึง 5.00% นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2022 แต่ในการประชุมครั้งล่าสุดของ Fed ได้หยุดส่งสัญญาณว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีก และนี่ถือเป็นสัญญาณสำคัญว่า Fed อาจพร้อมแล้วที่จะคงอัตราดอกเบี้ยฯ ไว้ในระดับนี้ต่อไป

อ้างอิง: StashAway, ธนาคารกลางสหรัฐ; หมายเหตุ: ข้อมูลแสดงถึงผลรวมการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป้าหมายตั้งแต่ 1971 ถึงปัจจุบัน

แล้ว Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยฯ เลยหรือไม่? Jerome Powell ประธาน Fed ได้เน้นว่าการลดอัตราดอกเบี้ยฯ เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ในการแถลงข่าวครั้งล่าสุด ซึ่งสวนทางกับมุมมองของตลาดที่คาดว่า Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากโอกาสการเกิด Recession ในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น

ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยฯ เริ่มส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจ?

การที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ทั้งเร็วและแรงที่สุดนับจากทศวรรษที่ 1980 ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

สาเหตุเพราะเมื่อธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ที่ทั้งเร็วและแรงเกินไปอาจส่งผลโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง โดยในช่วงปี 2007-2008 จะพบว่า ภาคธุรกิจที่เปราะบางในตอนนั้นคือ ภาคสินเชื่อ Subprime (ผ่าน Mortgage-backed Securities: MBS) ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อระบบการเงิน

ปัจจุบันเราเริ่มเห็นผลกระทบในธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐ หลังจากกรณีวิกฤตที่ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งผลกระทบลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสหรัฐ แต่การที่ธนาคารกลางอังกฤษได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ยังทำให้เกิดความวุ่นวายในระบบบำนาญของอังกฤษในปีที่แล้วเช่นกัน

Stagflation ทำให้ Fed พักการขึ้นดอกเบี้ย และนักลงทุนเริ่มระมัดระวัง

เมื่อมองในภาพใหญ่ ข้อมูลทางเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังบอกอะไร? โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจชุดล่าสุดของของ ERAA™ ได้บ่งชี้ว่า เรายังคงอยู่ในภาวะ Stagflation หรือภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวแต่เงินเฟ้อสูง 

ข้อมูลทางเศรษฐกิจเหล่านี้บอกอะไรกับเรา: 

  • ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในไตรมาส 1 ปี 2023 GDP ของสหรัฐขยายตัวที่ 1.1% ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 1.9% และเป็นการชะลอตัวลงจาก 2.6% ในไตรมาส 4 ปี 2022 นอกจากนี้ในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ตัวชี้วัดกิจกรรมของภาคการผลิตอย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อสหรัฐ (PMI) จากสถาบัน ISM ยังอยู่ในสภาวะหดตัว ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเป็นผลลัพธ์ที่ Fed ต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจของเราได้ที่ CIO Insights เดือน เม.ย.)
  • ด้านเงินเฟ้อ ถือว่ายังยืดเยื้อกว่าที่หลายฝ่ายคาด โดยในเดือน เม.ย. ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ได้ปรับตัวลงเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 4.9% และ 5.5% YoY ตามลำดับ โดยในเดือน มี.ค. Core PCE ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ Fed มักอ้างอิงปรับตัวลงเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 4.6% YoY ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของค่าแรงยังเป็นจุดที่ Fed กังวล โดยดัชนี Employment Cost Index (ECI) กลับเร่งตัวขึ้นสู่ 4.7% ในไตรมาส 1 ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า Fed ยังมีภารกิจอีกมากที่จะควบคุมให้เงินเฟ้อกลับมาที่ระดับเป้าหมายที่ 2%

อ้างอิง: StashAway, สำนักสถิติแรงงานสหรัฐ, สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐ 

ตัวเลขเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อเหล่านี้เป็นผลให้ Fed ยังต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ครั้งล่าสุดแม้จะเกิดความวุ่นวายในกลุ่มธุรกิจธนาคารสหรัฐ และเป็นเหตุผลที่ Fed อาจคงอัตราดอกเบี้ยฯ ในระดับสูงนี้ไปอีกสักพัก (แทนที่จะปรับลดในระยะใกล้) โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจชะลอตัวลงแต่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% 

โดย Jerome Powell ยังย้ำอีกครั้งในการแถลงข่าวครั้งที่ผ่านมาว่า เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อจึงยังไม่ถึงเวลาของการลดอัตราดอกเบี้ยฯ

จากความเสี่ยงในระยะข้างหน้า นักลงทุนอาจมองตลาดหุ้นเป็นบวกกว่าสถานการณ์จริง

ถึงแม้ในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง แต่ทั้งราคาหุ้นและการคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทต่างกลับอยู่ในระดับสูงกว่าที่ควรจะเป็น

  • ด้านราคา พบว่าค่า P/E Ratio ล่วงหน้า 12 เดือนของดัชนี S&P 500 ยังอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ย 20 ปี ที่ 18.5 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นในปัจจุบันเมื่อคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิด Recession ในระยะข้างหน้า
  • ด้านกำไร ตลาดยังคาดการณ์ว่าในปี 2023 กำไรต่อหุ้น (EPS) ของดัชนี S&P 500 จะปรับตัวลดลงเพียง 1% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับช่วงที่เกิด Recession ในอดีตที่ค่า EPS ปรับลงราว 16% โดยเฉลี่ย ดังนั้นโอกาสที่ค่า EPS จะปรับตัวลดลงในระยะข้างหน้าถือเป็นอีกความเสี่ยงในตลาดหุ้น

สิ่งที่น่าสนใจคือ เหตุผลที่นักลงทุนประเมินสถานการณ์เป็นบวกอาจมาจากมุมมองต่อโอกาสในการเกิด Recession เนื่องจากโดยปกติเมื่อธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ อย่างรวดเร็วหรือติดต่อกันหลายเดือน มักจะตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯ อย่างรวดเร็วเช่นกัน นอกจากนี้นักลงทุนมองว่าการที่ธนาคารกลางหลักต่างเข้าอัดฉีดสภาพคล่องในระบบการเงินก็เป็นอีกปัจจัยบวกสำหรับตลาดหุ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากในอดีตพบว่า ผลตอบแทนของหุ้นมักเป็นลบทั้งในช่วงก่อนและหลังจากที่ Fed เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯ หลังจากการขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 180 วันก่อนที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯ ครั้งแรก ผลตอบแทน Median ของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ลบ 7.5% ส่วนช่วง 180 วันหลังจากที่ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยฯ ครั้งแรก ผลตอบแทนของ Median จะอยู่ที่ลบ 6.7% สาเหตุหลักเพราะในช่วงเวลาเหล่านั้นปัจจัยทางเศรษฐกิจมักอยู่ในทิศทางลบ

นอกจากนี้ ข้อมูลยังได้บ่งชี้ว่าเมื่อ Fed หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ แล้ว มักจะคงอัตราดอกเบี้ยฯ ในระดับนั้นราว 6.5 เดือนโดยเฉลี่ย ดังนั้น สถานการณ์เงินเฟ้อที่ยืดเยื้อและสัญญาณ Hawkish จาก Fed ในปัจจุบัน เราจึงอาจเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นอีกระยะหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นเช่นกัน

ข้อมูลทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดอาจมองภาพบวกกว่าความเป็นจริง และยังสะท้อนว่า ณ เวลานี้อาจยังไม่เหมาะที่จะเข้าไปลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยง

อ้างอิง: StashAway, Bloomberg; หมายเหตุ: ข้อมูลนี้แสดงถึงผลตอบแทนรวมของ S&P 500 ช่วง 180 วันก่อน-หลังจากการเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยฯ ของ Fed หลังจากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วหรือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ อย่างต่อเนื่องในหลายเดือน

การรักษาพอร์ตให้ Defensive เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรับมือความไม่แน่นอนในอนาคต

ด้วยเศรษฐกิจปัจจุบันที่อยู่ในภาวะ Stagflation และความไม่แน่นอนสูงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป ERAA™ ยังคงมองว่าการรักษาพอร์ตให้ Defensive ยังเป็นสิ่งสำคัญ:

  • ตราสารหนี้ - พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น ยังคงน่าสนใจเพราะมีความเสี่ยงที่ต่ำและ Yield (อัตราผลตอบแทน) ในระดับสูงจากการที่ Fed น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยฯ ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ เรากำลังจับตามองตราสารหนี้ระยะยาวของสหรัฐที่อาจจะ Outperform ได้ หาก Fed เริ่มมีท่าทีที่ชัดเจนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยฯ ลง รวมถึงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง
  • หุ้น - ERAA™ ของเรายังคงสัดส่วนหุ้นในกลุ่ม Defensive เช่น Healthcare ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ยังช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการเติบโตทางเศรษฐกิจนอกสหรัฐ

ตลาดอาจไม่แน่นอน แต่การลงทุนสามารถทำให้แน่นอนได้ 

นักลงทุนอาจตัดสินใจได้ยากว่าควรทำอย่างไรในช่วงที่ตลาดเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งนี้ เรายังแนะนำให้คุณโฟกัสที่การลงทุนระยะยาว โดยมีพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดี เพื่อให้คุณก้าวข้ามความผันผวนในระยะสั้นได้ และยังช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างสบายใจไม่ว่าตลาดจะอยู่ในภาวะใด

ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน การบริหารจัดการเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบจากเงินเฟ้อ และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำหรือต่ำมาก

ทั้งนี้ หากคุณอยากลงทุนให้เงินงอกเงยในสกุลเงิน USD สามารถลงทุนได้ใน USD Cash Plus ภายใต้ Flexible Portfolio ที่ลงทุน 99% ใน ‘พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (1-3 เดือน)’ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก และปัจจุบันให้ Yield อยู่ที่ 5.3%* ต่อปี ที่สำคัญพอร์ตต้นแบบ USD Cash Plus ยังช่วยปกป้องคุณจากภาวะเงินเฟ้อสูงที่เกิดขึ้น เพราะโดยปกติ Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ย ขณะที่พอร์ตนี้ยังช่วยให้คุณกระจายการลงทุนในสกุลเงินที่เป็น Safe-haven หลักของโลกอีกด้วย

*หมายเหตุ:

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; อัตราผลตอบแทนอ้างอิงจากผู้จัดการกองทุน ETF ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคตและอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะตลาดและอัตราแลกเปลี่ยน โดยอัตราผลตอบแทนล่าสุด ณ 11 พ.ค. 2023


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ