Weekly Buzz: เศรษฐกิจยุโรปยังคงหลับใหล

30 June 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

📉 ข้อมูลเศรษฐกิจฉายภาพตลาดที่ซบเซา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั่วโลกครั้งล่าสุดของ S&P แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซนนั้นอยู่ในช่วงขาลง โดยข้อมูลครั้งล่าสุดยิ่งฉายภาพให้ชัดเจนว่า เศรษฐกิจยุโรปยังคงหลับใหล

กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว

ดัชนี PMI ของยูโรโซนทำการสำรวจบริษัทราว 5,000 แห่ง ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดสุขภาพของภาคธุรกิจที่ค่อนข้างแม่นยำ โดยตัวเลขล่าสุดพบว่า กิจกรรมการผลิตสินค้าในภูมิภาคนี้หดตัวลงมาอยู่ที่ 43.6 จุดในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา จาก 44.8 จุดในเดือน พ.ค. (ต่ำกว่าระดับ 50 หมายถึงมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ)

ขณะที่ กิจกรรมในภาคบริการ (สัดส่วนเกือบ 75% ของเศรษฐกิจยุโรป) ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ตัวเลขล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 52.4 จุด จาก 55.1 จุด และเมื่อเรานำทั้ง 2 ภาคส่วนมารวมกันในดัชนีผสม (Composite Index) ตัวเลขจะตกลงมาอยู่ที่ 50.3 จุด จาก 52.8 จุด ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน

เกิดอะไรขึ้นกับยุโรป?

การชะลอตัวในทวีปยุโรปเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 20 ปีของกลุ่มยูโรโซน กำลังทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย นั่นคือ การลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางยุโรปได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะเงินเฟ้อสูงให้ได้ แต่ปัจจุบัน Core Inflation หรือ ‘อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน’ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) ยังคงยืดเยื้ออยู่ในระดับสูงที่ 5.3% เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าการต่อสู้ครั้งนี้ยังอีกยาวไกล โดยตัวเลขเงินเฟ้อในยุโรปที่จะทยอยออกมาในสัปดาห์หน้า น่าจะยืนยันสถานการณ์นี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อังกฤษก็ไม่ต่างกัน

พฤหัสบดีที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 4.5% ขึ้นมาที่ 5% ซึ่งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ถึง 2 เท่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของอังกฤษพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 7.1% สูงที่สุดในรอบ 30 ปี ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายรายระบุว่า อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ระดับ 6% จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะ Recession ส่งผลให้อังกฤษยังคงติดพันอยู่กับทั้งปัญหาเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อสูง

แม้เงินเฟ้อสูงและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมคือ เศรษฐกิจจะมีทั้งช่วงขึ้นและลงเป็นปกติ การ Stay Invested อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะช่วยให้เราผ่านช่วงที่ตลาดผันผวนไปได้ โดยพอร์ต General Investing ของเรามีการกระจายสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกและออกแบบมาให้เหมาะกับการลงทุนระยะยาว

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: Core Inflation (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน)

เราทุกคนต่างรู้สึกถึงผลกระทบของเงินเฟ้อ และด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ การติดตามราคาสินค้าทุกชนิดจึงเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งต้องทำความเข้าใจแนวโน้มในระยะยาวของเงินเฟ้อ จึงจำเป็นต้องมองข้ามข้อมูลที่ผันผวนได้ง่าย 

นั่นคือที่มาของ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ใช้หลักการคำนวณจากดัชนี CPI ซึ่งติดตามราคาสินค้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมด ตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค ไปจนถึงกิจกรรมเพื่อความบันเทิง และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะแตกต่างจาก CPI โดยจะไม่รวมราคาอาหารและพลังงานซึ่งมีความผันผวนสูงกว่า เพื่อให้การชี้วัดเงินเฟ้อมีเสถียรภาพมากขึ้น


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ