Weekly Buzz: ผู้ชนะกลุ่มต่อไปในยุค AI Boom 🤖

18 July 2025

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เราเห็นผู้ชนะในระยะแรกของยุค AI Boom ได้ไม่ยาก โดย Nvidia กลายเป็นบริษัทแรกที่มีมูลค่าตลาดทะลุ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะทั่วโลกกำลังแย่งกันซื้อชิป AI กันอย่างดุเดือด แต่มีความเป็นไปได้ว่าผู้ชนะอีกมากกำลังจะตามมา โดยเฉพาะบริษัทที่สามารถนำ AI มาใช้เพื่อทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัดขึ้น และฉลาดขึ้น

ผลลัพธ์ด้าน ‘Productivity’ คือของจริง

ผลกระทบจาก AI ที่มีต่อเศรษฐกิจโลกไม่ใช่แค่เรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งจะส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ยกตัวอย่างเช่น Amazon ที่ใช้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ในคลังสินค้า สามารถลดเวลาในการจัดสินค้าและลดต้นทุนแรงงานได้อย่างมหาศาล หรือ JPMorgan ที่ใช้ AI ตรวจสอบสัญญาสินเชื่อได้ภายในไม่กี่วินาที จากที่เคยกินเวลานักวิเคราะห์หลายชั่วโมง ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบใหม่นี้ยังแพร่หลายไปในหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น โรงงานสามารถใช้ AI คาดการณ์เครื่องจักรชำรุดได้ล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้มหาศาล ขณะที่ บริษัทค้าปลีกสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้แบบ Real-time ลดของเสีย และเพิ่มกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับนักลงทุนแล้ว นี่คือข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน โดยบริษัทที่สามารถนำ AI มาใช้ได้จริง จะสามารถทำงานได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง มีกำไรสูงขึ้น และยังสามารถนำกำไรไปต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

(อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบของ AI ได้ใน 2025 Mid-Year Outlook: ตลาดแค่พักร้อนหรือการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่กำลังจะมา?)

Key Takeaway

การลงทุนใน AI ไม่ได้จบแค่ ‘ใครเริ่มก่อน’ และไม่ได้จำกัดอยู่แค่บริษัทผลิตชิปอีกต่อไป ให้ลองมองว่าผู้ชนะระยะแรก คือ ผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานของ AI ส่วนระยะถัดไป คือ ผู้ที่สามารถนำ AI มาใช้ให้เกิดมูลค่าจริงทางธุรกิจได้ นั่นหมายความว่าเราไม่ควรโฟกัสแค่บริษัทเทคโนโลยี แต่ควรให้ความสำคัญกับบริษัทที่สามารถนำเทคโนโลยีนั้นไปใช้ได้จริงในรูปแบบที่สามารถสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง

นี่คือเหตุผลว่าทำไมการการกระจายการลงทุนถึงสำคัญ แทนที่จะเสี่ยงเลือกหุ้นรายตัว คุณสามารถเลือกพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีทั่วโลก เพื่อรับประโยชน์อย่างทั่วถึงจากผู้ชนะในระยะถัดไป ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจไหนหรือภูมิภาคใดก็ตาม เพราะคุณจะไม่ได้แค่ลงทุนแค่ในบริษัทที่สร้าง AI แต่คุณกำลังลงทุนในเศรษฐกิจโลกที่กำลังมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

(หากคุณกำลังมองหาพอร์ตที่สามารถเติบโตไปพร้อมเศรษฐกิจโลก ลองดูพอร์ต General Investing ของเรา หรือถ้าอยากเจาะลึกเฉพาะบริษัทเทคโนโลยี Thematic Portfolio ของเรา ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ 😎)

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: จีนใช้กลยุทธ์กระจายความเสี่ยงทางการค้า เพื่อรับมือความไม่แน่นอน

ข้อมูลการค้าเดือน มิ.ย.ของจีนออกมาดีกว่าคาด ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ได้หายใจหายคอกันบ้าง โดยตัวเลขการส่งออกพุ่งขึ้น 5.8% YoY เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ที่ 4.8% ขณะที่การนำเข้าก็กลับมาเพิ่มขึ้น 1.1% หลังจากที่หดตัวไป 3.4% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึง Demand ในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว

แม้ว่าการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐจะลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่ก็ลดลงน้อยกว่าเดือนก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากข้อตกลงหยุดพักสงครามการค้าชั่วคราวในเดือนพ.ค. ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกจีนเองก็เริ่มหันไปหาตลาดใหม่ๆ มากขึ้น โดยการส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นถึง 15% และไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 12%

ทั้งนี้ การค้ายังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจีน แม้จะยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ก็ตาม โดยข้อตกลงชั่วคราวกับสหรัฐอาจช่วยลดแรงกดดันลงได้บ้าง แต่ด้วยความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าจากฝั่งสหรัฐ ความคืบหน้าที่เกิดขึ้นจึงยังดูเปราะบาง ดังนั้น จีนจึงยังคงเดินหน้ากลยุทธ์กระจายความเสี่ยงเพื่อเปิดโอกาสทางการค้ากับภูมิภาคอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย

(หากคุณต้องการเติบโตไปพร้อมเศรษฐกิจโดยรวมของจีน หรือจะโฟกัสไปที่กลุ่มเทคโนโลยีของจีนโดยเฉพาะ ลองดู Flexible Portfolio ของเรา)

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: นำเข้าและส่งออก

ตัวเลขการนำเข้าและส่งออกสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี หากการส่งออกเพิ่มขึ้น มักเป็นการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจภายในประเทศมีการผลิตที่แข็งแรง และมี Demand จากต่างประเทศสูง ซึ่งสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่ดีขึ้น ส่วนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นก็มักเป็นสัญญาณว่า Demand ภายในประเทศแข็งแกร่งขึ้น เพราะผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโต


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ